การประกอบอาหารโรงทานอาหาร ณ วัดสังฆบารมี
ขอความร่วมมือจากผู้ที่จะมาประกอบอาหารโรงทานที่วัดสังฆบารมี เมืองเอสเหลิฟ ประเทศสวีเดน เพื่อความสะอาดและถูกสุขลักษณะอนามัยของอาหารและสถานที่ตามข้อกำหนดของเทศบาลเมืองเอสเหลิฟ (Eslövs kommun)
ความสะอาดในการประกอบอาหาร
ล้างมือก่อนจะทำอาหาร ควรล้างด้วยสบู่และน้ำ ล้างด้วยน้ำอุณหภูมิห้องเพราะสามารถทำความสะอาดได้ดีกว่าน้ำเย็น
- ควรถอดแหวน นาฬิกา เครื่องประดับต่าง ๆ ออกแล้วค่อยล้างมือ
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาด (สบู่ช่วยขจัดคราบสกปรกและคราบมัน) แนะนำให้ใช้ handdesinfektion หลังจากล้างมือเพราะจะทำให้มือสะอาดมากขึ้น ถ้าไม่มีน้ำ สามารถใช้ handdesinfektion แทนได้ซึ่งสามารถกำจัดแบคทีเรียได้เท่ากับการล้างมือด้วยสบู่และน้ำ แต่ handdesinfektion ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสบางตัวได้ดีเท่ากับการใช้สบู่และน้ำ
- ล้างมือก่อนทำอาหารและหลังจากจับเนื้อสัตว์ที่ยังไม่ได้ผ่านความร้อนหรือการปรุงสุก เช่น เมื่อหั่นเนื้อสัตว์เสร็จแล้วก็ต้องล้างมือทันที
- เช็ดมือให้แห้งหลังล้างมือ
ขณะทำกับข้าว
- ถ้าเราหรือคนที่จะทำอาหารมีบาดแผลที่มือควรจะหลีกเลี่ยงการสัมผัสอาหารโดยตรง เพราะที่บาดแผลมีเชื้อโรคและหากมีการสัมผัสอาหาร เชื้อโรคจะผ่านไปยังอาหารและทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้
- อย่าทำอาหารให้คนอื่นทาน ถ้าเราหรือคนที่จะทำอาหารเพิ่งหายจากหรือมีอาการอาหารเป็นพิษหรือท้องเสีย (magsjuk) เพราะเชื้อโรคต่าง ๆ สามารถส่งผ่านจากมือมายังอาหารได้
- ใช้อุปกรณ์ครัว เช่น ทัพพี ตะหลิว หม้อ หรือเขียงที่สะอาดและแห้ง
- รักษาความสะอาดบนโต๊ะที่ใช้เตรียมอาหารและทำอาหาร
- หากต้องการเช็ดหรือซับน้ำที่ออกมาจากเนื้อสัตว์ควรใช้กระดาษทิชชู่ (hushållspaper) แทนการใช้ผ้าขี้ริว เพราะผ้าขี้ริวจะดูดซับของเหลวและเชื้อโรคต่าง ๆ และเมื่อนำผ้าผืนนั้นไปเช็ดตามพื้นที่ต่า งๆ ในครัว ก็จะเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคไปยังส่วนอื่น ๆ ในครัวได้
- ล้างอุปกรณ์ครัวให้สะอาดและแห้ง ทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจาน (ใช้น้ำอย่างเดียวไม่พอ) การเช็ดอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แห้งช่วยป้องกันเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ในครัว
- เขียงที่ผ่านการหั่นเนื้อสัตว์ที่ยังไม่ได้ประกอบอาหาร (เนื้อสด) ก่อนที่จะนำไปหั่นผักสดหรืออาหารที่ไม่ต้องประกอบอาหาร ควรล้างทำความสะอาดให้แห้งก่อนนำไปใช้
- ไม่นำอาหารที่ทำเสร็จแล้วหรืออาหารปรุงสุกไปไว้ใกล้หรือรวมกับอาหารที่ยังไม่ได้ปรุงสุก
- ล้างผักให้สะอาด
- นม โยเกิร์ต หรือผลิตภัณฑ์จากนม ปลา เนื้อสัตว์ต้องนำเข้าตู้เย็นทันที
อุณหภูมิที่เหมาะสมในตู้เย็นคือ 4 องศา (แนะนำให้มีเทอร์โมมิเตอร์ในตู้เย็น)
แหล่งที่มาของข้อมูล: https://www.livsmedelsverket.se/livsmedel-och-innehall/tillagning-hygien-forpackningar/hygien
การปิ้งย่าง
- เก็บเนื้อสัตว์ต่า งๆ ไว้ในตู้เย็นทันทีหลังจากที่ซื้อมาแล้ว ถ้าซื้อเนื้อสัตว์มาแล้วและต้องอยู่ข้างนอกเป็นเวลานานและมีอากาศร้อนให้นำกระเป๋าเก็บความเย็น (kylväska) และ แผ่นน้ำแข็ง (kylklampar) เพื่อเก็บรักษาเนื้อสัตว์
- การละลายเนื้อแช่แข็ง ก่อนที่จะนำเนื้อสัตว์ที่แช่แข็งมาปิ้งย่าง ตรวจดูให้แน่ชัดว่าเนื้อสัตว์ละลายหมดทุกส่วน
- ละลายเนื้อสัตว์ในตู้เย็น (ใช้เวลานานกว่าการแช่น้ำ ถ้าต้องละลายเนื้อไก่หรือเนื้อชิ้นใหญ่) หรือแช่น้ำเย็นทิ้งไว้
- สามารถละลายเนื้อสัตว์ในไมโครเวฟได้ และต้องนำเนื้อสัตว์นั้นมาใช้ประกอบอาหารทันที
- การหมักเนื้อสัตว์ ไม่นำน้ำหมักที่หมักเนื้อสัตว์แล้วมาเทราดบนเนื้อสัตว์ที่ปิ้งย่างเสร็จแล้วเพราะมีเชื้อโรคจากน้ำหมักที่มาจากเนื้อสัตว์
- การเก็บรักษา (เพื่อเก็บรักษาเนื้อสัตว์ได้นาน) เก็บรักษาเนื้อสัตว์ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4 องศา ถ้าต้องออกไปปิกนิคข้างนอกให้เก็บรักษาเนื้อสัตว์ในกระเป๋าเก็บความเย็น (kylväska) และมีแผ่นน้ำแข็ง (kylklampar) ข้างในกระเป๋า วางกระเป๋าในที่ร่มและไม่เปิดกระเป๋าบ่อยถ้าไม่จำเป็น
- ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ก่อนที่จะทำอาหารและหลังจากที่สัมผัสหรือจับเนื้อสัตว์ที่ยังไม่ได้ปรุงสุก
- เมื่อต้องปิ้งย่าง
- เริ่มปิ้งย่างได้เมื่อถ่านเป็นสีเทา และระวังอย่าให้น้ำมัน น้ำหมักหรือชิ้นเนื้อหล่นลงไปบนถ่าน
- ไม่ย่างอาหารให้ไหม้เกินไป
- อาหารที่เหลือจากการปิ้งย่างควรเก็บในตู้เย็นทันทีหลัง
- ไม่วางอาหารที่ควรจะแช่ในตู้เย็นไว้ข้างนอกตู้เย็นนานกว่าสองชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงกับเก็บอาหารตรงบริเวณที่มีแสงแดดโดยตรง
- ล้างเขียงและมีดที่ถูกใช้กับเนื้อสัตว์ที่ยังไม่ได้ปรุงสุกให้สะอาดก่อนที่จะใช้หั่นผักหรืออาหารที่ไม่ต้องปรุงสุ
- ตะแกรงของเตาปิ้งย่างใหญ่พอที่อาหารจะไม่ตกลงไปบนถ่าน
- ใช้ตะแกรงปิ้งงย่างที่ทนความร้อน (สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 260-300 ° C)
- ไม่วางอาหารที่ปรุงสุกแล้วรวมกับอาหารที่ยังไม่ได้ปรุงสุก
แหล่งที่มาของข้อมูล: https://www.livsmedelsverket.se/livsmedel-och-innehall/tillagning-hygien-forpackningar/tillagning/grilla-sakert